ราคาทองคำวันนี้ ของไทยที่โชว์อยู่ที่หน้าร้านขายทอง หลักๆแล้วจะเป็นการรวม “3 ปัจจัย” เข้าด้วยกัน คือ ราคา Gold Spot, อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน และ ค่า Premium (ค่าดำเนินการในการนำเข้าและส่งออก) โดยราคาจะแสดงเป็นหน่วย บาท/ทองคำ 1 บาท อ้างอิงตามราคาจากสมาคมค้าทองคำ ซึ่งเป็นราคาที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ราคาทองคำวันนี้

ทองที่นิยมซื้อขายในไทยจะอยู่ที่ความบริสุทธิ์ 96.5% ราคาทองคำจากสมาคมค้าทองคำจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ทองคำแท่ง และทองรูปพรรณ ปกติทองรูปพรรณจะขายแพงกว่า เพราะมีการบวกเพิ่มค่ากำเหน็จ (ค่าใช้จ่ายในการขึ้นรูปเป็นเครื่องประดับ) และเวลารับซื้อร้านจะรับซื้อทองรูปพรรณที่ราคาต่ำกว่าเพราะซื้อขายต่อลำบาก

ราคาทองคำในไทยไม่ได้ Real-time ราคาจะดีเลย์กว่าราคาตลาดโลกซึ่งซื้อขายกัน 24 ชั่วโมง แต่การเปลี่ยนแปลงราคาทองโลกที่นำหน้าการเปลี่ยนแปลงราคาทองของไทยแบบนี้ก็มีข้อดี เพราะทำให้เราสามารถคาดการณ์การขึ้นลงของราคาทองคำไทยในอนาคตได้

ตลาดทองคําในประเทศไทยเปิดตลาดที่เวลาประมาณ 9.00 น. และปิดตลาดที่เวลา 17.30 น. ตาม เวลาประเทศไทยในทุกวันทําการ ตลาดทองคําจะปิดทําการในวันเสาร์อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ แต่จะมี การปรับปรุงราคาในเช้าวันเสาร์1 ครั้ง เนื่องจากเวลาปิดตลาดของไทยเร็วกว่าเวลาปิดตลาดของตลาด ต่างประเทศ สมาคมคำทองคําสามารถปรับเปลี่ยนราคาได้ตลอดช่วงเวลาที่ตลาดทองคําไทยเปิดทําการ หาก ราคาทองคําในตลาดต่างประเทศไม่มีความผันผวน ราคาทองคําในประเทศจะมีการเปลี่ยนแปลงวันละสองครั้ง แต่ถ้าราคาทองคําในตลาดต่างประเทศมีความผันผวนค่อนข้างมาก สมาคมคำทองคําก็จะปรับราคาหลายครั้ง

และด้วยเทคโนโลยี สมัยใหม่ ประชาชนทั่วไปสามารถตรวจเช็คราคาทองได้ง่าย และสะดวกรวดเร็ว ยิ่งขึ้น

เพียงแค่เข้ามาทางเว็บไซด์

 www.wisdom-gold.com  ของเรา จะอัพเดทราคาทองตามราคาเปิดของสมาคมค้าทองคำในไทย

พร้อมทางเว็บของเรายังมีสินค้าทองที่คุณภาพ มากมายอีกมากมาย

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับทองคำ

**จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี**

ทองคำ (gold)

คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

คุณสมบัติของทองคำ

มีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ทองคำบริสุทธิ์จะไม่ทำปฏิกิริยาทางเคมี (Chemicalinactive) ได้ง่าย จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ (Oxidide) แต่มีปฏิกิริยากับคลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง

คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ

ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

  • งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม
  • หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์(31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
  • นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน

การเกิดของแร่ทองคำ

สรุปจากเอกสารของกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้

  • แบบปฐมภูมิ คือกระบวนการทางธรณีวิทยา มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ำแร่ร้อน ผสมผสานกับสารละลายพวกซิลิก้า ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร มีการพบการฝังตัวของแร่ทองคำในหิน หรือสายแร่ที่แทรกอยู่ในหิน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • แบบทุติยภูมิหรือลานแร่ คือการที่หินที่มีแร่ทองคำแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อน และถูกน้ำพัดพาไปสะสมตัวในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ

แหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิในไทย เช่น

– แหล่งโต๊ะโมะ จ.นราธิวาส

– แหล่งเขาสามสิบ จ.สระแก้ว

– แหล่งชาตรี(เขาโป่ง) จ.พิจิตร – จ.เพชรบูรณ์

– แหล่งดอยตุง (บ้านผาฮี้) จ.เชียงราย

– แหล่งเขาพนมพา จ.พิจิตร

แหล่งแร่ทองคำทุติยภูมิในไทย เช่น

– แหล่งบ้านป่าร่อน จ.ประจวบคีรีขันธ์

– แหล่งบ้านนาล้อม จ.ปราจีนบุรี

– แหล่งบ้านทุ่งฮั้ว จ.ลำปาง

– แหล่งในแม่น้ำโขง จ.เลย – จ.หนองคาย

– แหล่งบ้านผาช้างมูบ จ.พะเยา

หน่วยน้ำหนักของทองคำ

กรัม : ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล

ทรอยเอานซ์ : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย

โทลา : ใช้กันทางประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน

ตำลึง : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง

บาท : ใช้ในประเทศไทย

ชิ : ใช้ในประเทศเวียดนาม

สแกน QR code เพื่อชมสินค้าเพิ่มเติม
คลิ๊กที่ลิ้งค์ https://line.me/R/ti/p/%40wisdomgold

สนใจชมสินค้าเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่

ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่